ในการเขียน function เราก็สามารถจัดระเบียบให้เป็น oop pattern รูปแบบหนึ่งได้เช่นกันครับ
( เป็น oop โดยการจัดรูปแบบ )
เช่น
/services/global-service.php
/services/project1-service.php
/services/project2-service.php
/services/project3-service.php
กับ
/project1/home.php
/project1/contactus.php
ซึ่งเราจะแบ่งส่วนให้มีส่วนประกาศ function เฉพาะใน mylibs เท่านั้น
และส่วนเรียกใช้งาน function ต่างๆจะมีอยู่ใน user เท่านั้น
ซึ่งเราอาจจะเรียกว่า oop แบบนี้ว่าเป็น service - user pattern ครับ
โดยมีไฟล์กลุ่มหนึ่งทำหน้าที่เป็น service ไฟล์อีกกลุ่มหนึ่งทำหน้าที่เรียกใช้ service object เรียกว่า user object
โดย service จะไม่เข้าไปปะปนกับ user ,แบ่งหน้าที่โดย service เป็นผู้ให้บริการส่วน user เป็นผู้เรียกและขอรับบริการจาก service เท่านั้น
global-service.php
<?php
function f1(){...}
?>
project1-service.php
<?php
function f2(){...}
?>
เราอาจจะนับได้ว่า project1-service.php ได้รับการสืบทอบมาจาก global-service.php
ซึ่งในการเรียก service มาใช้งานเพื่อความสะดวกเราจะสร้างไฟล์สำหรับ initial ค่าต่างๆ สำหรับ project
ซึ่่งไฟล์ดังกล่าวจะเป็น user ที่ทำการติดต่อกับ service ก่อน user อื่นๆ ทุกครั้งขึ้นมาโดยให้ชื่อว่า coordinator.php (แปลว่าผู้ติดต่อประสานงาน)
coordinator.php
<?php
require '/services/global-service.php';
require '/services/project1-service.php';
//connect db
//initial project1 global value
?>
home.php
<?php
require 'coordinator.php';
f1();
f2();
?>
เรียกได้ว่า home.php สืบทอดคุณสมบัติจาก coordinator.php เพื่อทำการติดต่อกับ service ต่างๆ
แต่การเขียนแบบนี้ส่วนใหญ่เรามักจะไม่ระมัดระวังโดยมักจะแทรก function ในไฟล์ user
และแอบแทรกคำสั่งทำงานทันทีในส่วน service
ซึ่งทำให้หาส่วนประกาศ function ยาก และหาลำดับขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้นยากครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น